Visa & Immigration

IR-1 DCF Visa: ข้อมูลเบื้องต้น

สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มศึกษา วีซ่าแต่งงานหรือวีซ่าสมรสเป็นวีซ่าที่ได้จากการแต่งงานกับบุคคลสัญชาติอเมริกัน ถือว่าเป็นวีซ่าประเภทถาวร (immigrant visa) การขอวีซ่าแต่งงานแบบ DCF คือการขอแบบ Direct Consular Filing ซึ่งข้อดีของมันคือเราสามารถดำเนินเรื่องทั้งหมดที่ไทยได้เลย ไม่ต้องมีการส่งเอกสารผ่าน USCIS และ NVC ที่อเมริกา ไม่ต้องรอคิวนาน ดังนั้นเคสการขอวีซ่าแบบ DCF ถ้าเอกสารทุกอย่างพร้อม คุณจะได้วีซ่าไวมาก

ความแตกต่างระหว่างวีซ่า IR-1 และ CR-1

  • ถ้าหาก ณ วันสัมภาษณ์คุณได้แต่งงานกับบุคคลสัญชาติอเมริกันมาแล้วมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ปี คุณจะได้รับวีซ่าประเภท IR-1 ที่หลังจากเดินทางเข้าอเมริกาแล้วจะได้รับกรีนการ์ด 10 ปีเลย (IR ย่อมาจาก Immediate Relative)
  • แต่หาก ณ วันสัมภาษณ์คุณแต่งงานยังไม่ครบ 2 ปี คุณจะได้รับวีซ่าประเภท CR-1 แทน ที่พอเดินทางเข้าอเมริกาแล้วคุณจะได้รับกรีนการ์ดแบบมีเงื่อนไข 2 ปีและจะต้องต่อเป็นกรีนการ์ด 10 ปีอีกหลังจากใบแรกใกล้หมดอายุ (CR ย่อมาจาก Conditional Resident)

หากไม่รีบร้อนเราแนะนำให้กะระยะเวลาให้ครบ 2 ปี ณ วันสัมภาษณ์ก็จะดีค่ะ ชีวิตจะได้ง่ายขึ้นหลังเดินทางเข้าอเมริกา วีซ่าทั้ง 2 ประเภทเป็นวีซ่าที่อนุญาตให้คุณทำงานได้ ตราบใดที่คุณมีบัตร Social Security card ควบคู่ด้วย ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะไม่สามารถทำงานอย่างถูกกฎหมายได้ค่ะ

ขั้นตอนหลักของการขอวีซ่าแต่งงาน

  1. การยื่นเรื่อง I-130 petition ที่ USCIS Bangkok โดยคู่สมรสอเมริกันเป็นคนยื่น (อ่านรายละเอียด)
  2. การขอใบรับรองความประพฤติจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (อ่านรายละเอียด)
  3. การส่งเอกสาร Packet 3 (อ่านรายละเอียด)
  4. การตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลตามที่สถานทูตกำหนด (อ่านรายละเอียด)
  5. สัมภาษณ์วีซ่าและได้รับพาสปอร์ตคืนพร้อมวีซ่า (อ่านรายละเอียด)
  6. จ่ายค่าผลิตกรีนการ์ดก่อนเข้าอเมริกา (อ่านรายละเอียด)

เอกสารของแต่ละขั้นตอนเราจัดมารวมกันไว้ในรูปด้านล่างนี้แล้วค่ะ สามารถกดที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดเต็ม เราแนะนำให้เซฟเก็บไว้เลยค่ะ มันช่วยประหยัดเวลาการเตรียมเอกสารสำหรับเราได้มาก เคสของเราเป็นเคสทั่วไปนะคะ เราไม่เคยแต่งงานมาก่อน ไม่เคยหย่า ไม่เคยเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล ไม่เคยมีบุตร ดังนั้นเอกสารเราจะเป็นแบบพื้นฐานมาก หากใครเคยมีกรณีที่กล่าวไว้มาก่อน ให้จัดเตรียมเอกสารสนับสนุนไว้ด้วย เช่นใบหย่า ใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล ใบสูติบัตรของบุตร เป็นต้น

ข้อแนะนำ

  • การดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่าง ๆ เราแนะนำให้โหลดจากเว็บของ USCIS โดยตรงจะได้เวอร์ชั่นล่าสุด หากไม่ต้องการกรอกในคอมพิวเตอร์ สามารถปริ๊นท์ฟอร์มเปล่าออกมากรอกด้วยปากกาได้ แนะนำให้ใช้ปากกาหมึกดำ และเขียนตัวบรรจงเป็นภาษาอังกฤษตัวใหญ่หมด (ส่วนกรณีเรา เราพิมพ์ในคอมพิวเตอร์แล้วสั่งปริ๊นท์) หากช่องไหนมีที่พิมพ์ไม่พอ ให้ใช้ปากกาดำเขียนเติมที่เหลือได้
  • เวลาจัดรวมเอกสารเข้าด้วยกัน พยายามใช้คลิปหนีบกระดาบแทนการเย็บด้วยแม็ค เพราะถ้าจำไม่ผิดเขาจะต้องเอาเอกสารเราไปสแกนต่อ อะไรที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้เร็วขึ้นก็ควรช่วยเขาค่ะ เพราะจะทำให้เคสเราได้ไปต่อเร็วขึ้นด้วย
  • เอกสารแต่ละหมวดหมู่ขอให้คลิปแยกจากกันให้ชัดเจนตามรูปด้านบน เจ้าหน้าที่จะได้ทำงานเร็วขึ้น ไม่ต้องหาเอกสารไปมาวุ่นวายสุ่มเสี่ยงต่อเอกสารหล่นหายอีก
  • เอกสารภาษาไทยเช่นสูติบัตร ทะเบียนสมรส ทะเบียนบ้าน ควรเพิ่มเงินเล็กน้อยให้บริษัทแปลพร้อมปั๊มประทับตราบริษัท เพื่อหลีกเลี่ยงการติด 221(g) วันสัมภาษณ์ อะไรที่ลดความเสี่ยงได้เราแนะนำให้ทำ (บางคนแปลเอง รับรองเองหรือให้คู่สมรสรับรองให้ ผ่านก็มี ไม่ผ่านก็มี แนะนำว่าอย่าเสี่ยงดีกว่า) ส่วนจะต้องให้รับรองจากกระทรวงต่างประเทศหรือไม่นั้น แล้วแต่เลยค่ะ ทำไว้ก็ดี แต่ไม่ได้ทำก็ไม่มีผลต่อการพิจารณา หากต้องการทราบบริษัทรับแปล อีเมล์ถามเราได้ค่ะ
  • รูปถ่ายต้องเป็นรูปปัจจุบันถ่ายไว้ไม่เกิน 3 เดือน รูปสี พื้นหลังเป็นสีขาวหรือครีม ไม่มีกรอบ ทัดผมให้เรียบร้อย ต้องเห็นหู และไม่ใส่เครื่องประดับใด ๆ
  • คำเรียกชื่อ US citizen จะเรียกว่า petitioner หรือ main sponsor ส่วนคู่สมรสจะเรียกได้หลายอย่างเช่น foreign spouse, beneficiary, immigrant, visa applicant เป็นต้น
  • หากต้องการข้อมูลหรือต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม เราแนะนำให้เข้ากลุ่มเป็นสมาชิก USVisa4Thai Facebook ค่ะ เราก็เป็นสมาชิกของกลุ่มนี้ และได้เรียนรู้วิธีการทำทุกอย่างจากกลุ่มนี้ พี่ ๆ แอดมินมีความรู้และประสบการณ์มาก สามารถให้คำแนะนำได้ดีมากค่ะ

This post is also available in: enEnglish

You Might Also Like

No Comments

Leave a Reply