ระหว่างรอจดหมาย Approval Notice จาก USCIS และ case number จาก US Embassy (จะเป็นจดหมาย 2 ฉบับส่งมาแยกกัน) เราแนะนำให้ใช้เวลานี้เริ่มเตรียมเอกสาร Packet 3 เลยค่ะ จัดเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน เจ้าหน้าที่จะได้ตรวจง่าย และจะได้นัดวันสัมภาษณ์เร็ว
แนะนำให้อ่านก่อน
- IR-1 DCF Visa: ข้อมูลเบื้องต้น
- IR-1 DCF Visa: ตัวอย่างไทม์ไลน์
- IR-1 DCF Visa: ขั้นตอนที่ 1 การยื่นเรื่อง I-130 petition
- IR-1 DCF Visa: ขั้นตอนที่ 2 การขอใบรับรองความประพฤติ
สำหรับคนที่ยื่นแบบ DCF ส่วนมากตัว US citizen อาศัยอยู่ไทยและไม่ได้ทำงานเสียภาษีให้อเมริกา ดังนั้นหากใครเข้าข่ายกรณีนี้จะต้องเตรียมหา joint sponsor ไว้เลย และเตรียมขอจดหมาย IRS verification of non-filing letter ไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการติด 221(g) วันสัมภาษณ์ หากหา joint sponsor ไม่ได้แต่ US citizen มีเงินในบัญชีหรือมีบ้านหรือมี asset อื่น ๆ ก็สามารถนำมาใช้แทนได้ แต่ว่ามูลค่าของ asset รวมกันจะต้องเป็น 3 เท่าของจำนวนเงินที่กำหนดไว้ใน 2017 Poverty Guidelines ด้านล่าง และจะต้องมีเอกสารรับรองความเป็นเจ้าของ asset นั้น ๆ และชนิดของ asset จะต้องเป็นชนิดที่สามารถนำมาแปลงเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปี (ดูตัวอย่างวิธีการคำนวณและหาข้อมูลเพิ่มเติมหากต้องการใช้ asset ที่หน้านี้)
ข้อแนะนำเกี่ยวกับ joint sponsor
- ตัว joint sponsor จะเป็นใครก็ได้ คนในครอบครัว เพื่อน คนรู้จักที่ทำงาน ตราบใดที่คนนั้นเป็น US citizen แต่ถ้าคนในครอบครัวช่วยได้ก็น่าจะดีที่สุด (กรณีเราพ่อสามีเป็น joint sponsor ให้)
- ตัว joint sponsor จะต้องมี income มากพอตามที่กำหนดใน 2017 Poverty Guidelines ด้านล่าง ซึ่งเท่าไหร่นั้นก็แล้วแต่ว่ามี household member กี่คนแล้วให้นับรวมเราเข้าไปอีก 1 ตัวอย่างเช่น joint sponsor นับ 1, คู่สมรสของ joint sponsor นับอีก 1 และรวมเราเข้าไปด้วยอีก 1 รวมเป็น 3 คน ดังนั้น joint sponsor จะต้องมี income อย่างน้อย $25,525 เป็นต้น
- การลงนามเป็น joint sponsor นั้นเป็นการเซ็นสัญญาระหว่างตัว joint sponsor กับรัฐบาลสหรัฐ ถือเป็นภาระชนิดหนึ่ง เพราะว่าต้องรับผิดชอบเรื่องการเงินจนกว่าตัว immigrant จะสอบสัญชาติเป็น US citizen หากตัว immigrant ไม่สามารถเลี้ยงดูตนเองได้ และต้องไปพึ่งความช่วยเหลือของรัฐบาลอเมริกันที่เขามีสวัสดิการไว้ให้เฉพาะกับคนที่เป็น US citizen เท่านั้น (เช่น food stamps, medicaid, supplemental security income (SSI), temporary assistance for needy families (TANF) หรือ State child health insurance program (SCHIP)) ทางรัฐบาลมีสิทธิ์ปรับเงิน joint sponsor ดังนั้นต้องเข้าใจว่าการขอร้องใครให้ช่วยเป็น joint sponsor นั้นไม่ใช่เรื่องเล็ก หากเขาปฏิเสธที่จะช่วยเหลือ เราต้องทำความเข้าใจว่าเขาไม่อยากเสี่ยงกับตรงนี้
เอกสารที่ต้องเตรียม ทุกอย่างเป็นสำเนา ยกเว้นที่วงเล็บตัวจริง ไม่ต้องเซ็นรับรอง
1. หมวด US citizen
- I-864 (ตัวจริง พร้อมเซ็นหน้า 9) (ดาวน์โหลด)
- 2014 tax return (Form 1040)
- 2015 IRS verification of non-filing letter (ดาวน์โหลด) ดูวิธีการขอด้านล่าง
- 2016 IRS verification of non-filing letter
- พาสปอร์ต
- สูติบัตร
- US driver’s license
- ใบหย่า ถ้ามี
(เนื่องจากสามีเราย้ายมาไทยปี 2015-2016 ก็เลยไม่มีเอกสารการเสียภาษีของ 2 ปีนี้ จึงจำเป็นต้องขอ verification of non-filing letter จาก IRS มายืนยัน)
2. หมวดคู่สมรส (foreign spouse)
หลังจากได้ case number จากสถานทูตแล้ว ก็เริ่มดำเนินการรวบรวมเอกสารที่เหลือได้เลย
- พาสปอร์ต
- สูติบัตร พร้อมใบแปลรับรองโดยบริษัทแปล
- ทะเบียนสมรส
- ใบรับรองทะเบียนสมรส (certified marriage license) ถ้ามี
- ใบหย่า ถ้ามี
- ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล ถ้ามี
- DS-2001 (ตัวจริง) เป็นเอกสารบอกสถานทูตว่าเราพร้อมสัมภาษณ์แล้ว (ดาวน์โหลด)
- DS-260 printout (ตัวจริง) เป็นการบอกสถานทูตว่าเราได้กรอกฟอร์มเพื่อขอวีซ่าออนไลน์แล้ว (กรอกออนไลน์)
- รูป 2×2 นิ้ว 2 รูป เขียนชื่อนามสกุลด้วยดินสอด้านหลัง
- GSS printout (ตัวจริง) เป็นการแจ้งที่อยู่สำหรับการส่งพาสปอร์ตกลับมาหาเรา (ดาวน์โหลด)
- ใบรับรองความประพฤติ (ตัวจริง)
3. หมวด joint sponsor
- I-864 (ตัวจริง พร้อมเซ็นหน้า 9) (ดาวน์โหลด)
- 2014, 2015, 2016 tax returns (Form 1040)
- 2014, 2015, 2016 W-2
- 2014, 2015, 2016 Social Security Benefit Statement (Form 1099) ถ้ามี
- พาสปอร์ต
- US driver’s license
- สูติบัตร
- Sponsorship letter เป็นจดหมายที่ joint sponsor เขียนว่าจะรับรองเป็น sponsor เราตลอดช่วงเวลาที่เราอยู่อเมริกา
(tax return ไม่จำเป็นต้องส่ง 3 ปีย้อนหลัง ส่งแค่ปีล่าสุดปีเดียวได้ แต่หากอยากส่งครบ 3 ปีก็ไม่เป็นไร)
4. หมวดคู่สมรสของ joint sponsor (กรณีที่ joint sponsor แต่งงานแล้ว)
- I-864A (ตัวจริง พร้อมเซ็นหน้า 4) (ดาวน์โหลด)
- พาสปอร์ต
- US driver’s license
- สูติบัตร
5. หมวด domicile
domicile เป็นคอนเซ็ปต์ที่ค่อนข้างซับซ้อนค่ะ แต่ละเคสก็จะต้องส่งเอกสารต่างกันออกไป เอกสารในหมวดนี้ส่งเพื่อแสดงให้เจ้าหน้าที่สถานทูตเห็นว่าตัว US citizen นั้นไม่ได้ละทิ้งอเมริกา ยังคงมี ties มีความสัมพันธ์อยู่กับที่นั่นและวางแผนว่าจะกลับไปใช้ชีวิตที่นั่นอย่างถาวร เอกสารที่สามารถส่งได้มีหลายอย่าง
ยกตัวอย่างของเราที่ส่งไปได้แก่:
- 6-month plan letter แพลนว่าอีก 6 เดือนจะไปทำอะไรที่อเมริกา ร่างจดหมายง่าย ๆ ไม่ต้องมี format เป็นทางการ
- Job offer letter (ตัวจริงพร้อมลายเซ็น) จดหมายเชิญเข้าทำงานของสามี US citizen
- Car lease pre-approved letter จดหมายรับรองว่า US citizen มีเครดิตดีพอสามารถซื้อรถได้
- Renewed US driver’s license ใบขับขี่ที่ต่ออายุเรียบร้อย
- Shipment to US quote ใบประเมินราคาส่งข้าวของกลับอเมริกา
- Apartment search results ข้อมูลการหาอพาร์ทเมนท์ที่จะไปอยู่
- Health insurance quote ใบประเมินราคาประกันสุขภาพของเมืองที่จะไปอยู่
เอกสารอื่นที่อาจส่งได้อีกเช่น voter’s card, bank statement, bank account, US mailing address เป็นต้นค่ะ หาอะไรได้ก็ส่งไปให้ได้มากที่สุด
วิธีการขอ IRS verification of non-filing letter
อันนี้เป็นวิธีที่เราทำนะคะ ปริ๊นท์ฟอร์ม 4506-T ออกมาแล้วกรอกข้อมูลด้วยปากกา จากนั้นสแกนและอีเมล์ให้เพื่อนสามีที่อเมริกาส่ง fax ไปที่ IRS เบอร์ fax นั้นขึ้นอยู่กับรัฐค่ะ ให้ดูเบอร์ในฟอร์ม และให้เขียนที่อยู่จัดส่งเอกสารเป็นบ้านเพื่อนสามี จะได้รับจดหมายภายใน 10 วัน จากนั้นเพื่อนสามีจึงส่งมาให้เราที่ไทยอีกที
ทั้งหมดนี้คือเอกสารที่เราส่งไปสำหรับเคสเรา หากต้องการเช็ครายละเอียดเอกสารทั้งหมดหรืออื่น ๆ ที่สถานทูตอาจต้องการ สามารถเช็คได้จากเว็บไซต์สถานทูตอเมริกาที่หน้านี้
วิธีการและประสบการณ์ของเรา
IR-1 DCF Visa: ขั้นตอนที่ 3 การส่งเอกสาร Packet 3
Ingredients
- 1. เอกสารหมวด US citizen
- 2. เอกสารหมวดคู่สมรส (foreign spouse)
- 3. เอกสารหมวด joint sponsor
- 4. เอกสารหมวดคู่สมรสของ joint sponsor (กรณีที่ joint sponsor แต่งงานแล้ว)
- 5. เอกสารหมวด domicile
Instructions
จัดเอกสารเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน เลือกใส่ซองที่แข็งแรงในการส่งเพื่อป้องกันการยับหรือฉีกขาด วงเล็บมุมซองด้วยว่า Packet 3 เลือกวิธีจัดส่งแบบ EMS เพราะจะได้ track online ได้ ส่งไปที่
US Embassy Bangkok
Consular Section
Immigrant Visa Unit
120-122 Wireless Road
Lumpini, Bangkok 10330
จากนี้ก็รอทางสถานทูตติดต่อกลับมาเพื่อนัดวันสัมภาษณ์
Notes
ติดต่อสถานทูตอเมริกา (US Embassy)
ที่อยู่: 120-122 ถ. วิทยุ เขตลุมพินี กรุงเทพฯ 10330
เวลาทำการ: 8:30-12:00 น. (จ-ศ) ยกเว้นวันหยุดราชการไทยและอเมริกา
โทร: 02-105-4110
อีเมล์: visasbkkiv@state.gov (case specific)
เว็บไซต์: th.usembassy.gov
This post is also available in: English
No Comments